
Super User
ประวัติความเป็นมา

ตราสัญลักษณ์
ชุมชนบ้านห้วยขะยุง ตั้งอยู่ริมฝั่งลำน้ำห้วยขะยุง ด้านขวามือห่างจากจุดบรรจบกันระหว่างลำน้ำห้วยขะยุงและแม่น้ำมูล ประมาณ ๑ กม. เป็นชุมชนที่มีการรวมตัวกันของประชาชนจากหมู่บ้านต่าง ๆ หลายหมู่บ้าน ที่อพยพเคลื่อนย้ายมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่อาศัย เพื่อการประกอบอาชีพ เพื่อความสะดวกในการคมนาคม และการใช้สอยปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเขตพื้นที่หมู่บ้านและบริเวณใกล้เคียง เช่น ที่ดินทำเลเลี้ยงสัตว์ของตำบลกุดลาด ลำน้ำห้วยขะยุง ลำน้ำมูล โดยเฉพาะเส้นทางรถไฟที่วิ่งผ่าน เพื่อเดินทางเข้าสู่ตั้งจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดต่าง ๆ สู่กรุงเทพมหานคร
ในเบื้องต้นสืบได้ว่าประมาณปี พ.ศ. ๒๔๗๐ รัฐบาลได้ก่อสร้างทางรถไฟ จากจังหวัดศรีสะเกษ ไปจังหวัดอุบลราชธานี ได้มีคนงานก่อสร้างทางรถไฟ อพยพเคลื่อนย้ายรับจ้างก่อสร้างติดตามมาด้วย มีครอบครัวชาวจีน นำโย นายซ่งฮะ – นางธูปหอม มูลศิลป์, นายสิ่ว โสวรรณะ จากบ้านกุดลาด ตำบลกุดลาด อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วยคณะซึ่งทยอยตามมาเป็นระลอก เช่นในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ นายเฮือง สีลา ซึ่งเดินทางมาจากบ้านแวง ตำบลแวง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ พ่อครูพร บัวงาม จากบ้านหนองแก้ว ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ พ่อใหญ่ศูนย์ (สูรย์) ไกรสีห์ จากบ้านท่าลาด ตำบลท่าลาด อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พ่อใหญ่ป่าว ซึ่งมีเชื้อชาติพม่า และแม่ใหญ่เพิ่มที่เดินทางมาจากกรุงเทพมหานคร
พร้อมกับคณะช่างที่ทำการก่อสร้างทางรถไฟเพื่อเชื่อมต่อระหว่างจังหวัดศรีสะเกษ กับสถานีบ้านโพธิ์มูล อำเภอวารินชำราบ และสถานีรถไฟอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีครอบครัวนายสอน – นางจันทา โสวรรณะ ,นางหน่อย นายเกลอ,นายตื้อ,นางเสี่ยน โสวรรณะ, นางแป๋ โสวรรณะ ซึ่งอพยพมาจากบ้านท่าลาด ตำบลท่าลาด อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ได้เคลื่อนย้ายมารวมกันพร้อมด้วยกลุ่มนายพุฒ สาลีพวง ที่เคลื่อนย้ายมาจากบ้านหนองหวาย ตำบลโนนสังข์ อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ รวมแล้วประมาณ ๔๐ หลังคาเรือนในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการทำไร่ ทำนา และหาสัตว์น้ำเลี้ยงชีวิต พร้อมกับตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านห้วยขะยุง” ตามชื่อของลำห้วย ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของลำน้ำสายต่างๆ ที่ไหลจากเทือกเขาพนมดงรัก บริเวณอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
https://huaikhayung.go.th/service-manual/itemlist/user/904-superuser?start=540#sigProGalleria419ab31792
การก่อตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขะยุง
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขะยุง จัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ รายละเอียดปรากฎตามเอกสารที่แนบมาด้วยนี้
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีท้องถิ่น
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบ้านเช่า อาคาร ร้านค้า ตึกแถว บริษัท ธนาคาร โรงภาพยนตร์ แฟลต หอพัก คอนโดมิเนียม ร.ร.สอนวิชาชีพ โรงงานอุตสาหกรรม สนามมวย สนามกอล์ฟ ท่าเรือ บ่อนไก่ ฟาร์มสัตว์ คลังสินค้า และบริเวณที่ดินที่ปกติใช้ร่วมรับโรงเรือนนั้น โดยมีห้วงเวลาในการจัดเก็บประจำทุกวันที่ 1 มกราคม ถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี
การยื่นแบบประเมินและการชำระภาษี
- เจ้าของทรัพย์สินหรือผู้รับมอบอำนาจยื่นแบบแสดงรายการทรัพย์สิน (ภ.ร.ด.2) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม – สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี
- ถ้าค่าภาษีเกิน 9,000 บาท สามารถผ่อนชำระได้ 3 งวดๆละเท่ากัน
- ผู้รับการประเมินต้องชำระเงินภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแบบแจ้งการประเมิน
อัตราค่าปรับ
- ผู้ใดละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการมีความผิด โทษปรับไม่เกิน 200 บาท และเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปี
- ผู้ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์มีความผิดต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ไม่ เกิน 5 ปี
- ถ้าชำระภาษีเกินกำหนด 30 วันนับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ให้เสียเงินเพิ่ม ดังนี้
- ไม่เกิน 1 เดือน เสียเงินเพิ่ม 2.5% ของค่าภาษี
- เกิน 1 เดือนแต่ไม่เกิน 2 เดือนเสียเงินเพิ่ม 5% ของค่าภาษี
- เกิน 2 เดือนแต่ไม่เกิน 3 เดือนเสียเงินเพิ่ม 7.5%ของค่าภาษี
- เกิน 3 เดือนแต่ไม่เกิน 4 เดือนเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษี
- เกิน 4 เดือนขึ้นไปให้ยึดหรือขายทอดตลาดทรัพย์สิน โดยมิต้องขอให้ศาลสั่งหรือออกหมายยึด
ภาษีบำรุงท้องที่
ภาษีบำรุงท้องที่ คือ ภาษีที่จัดเก็บจากเจ้าของที่ดินหรือผู้ครอบครองที่ดินนั้น โดยมีห้วงจัดเก็บประจำทุก ภาษีบำรุงท้องที่ วันที่ 1 มกราคม ถึง 30 เมษายน ของทุกปี
อัตราภาษี
เสียตามราคาปานกลางของที่ดิน มีหลายอัตรา ขอทราบรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่ ได้โดยตรง ที่ดินว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์ จะต้องเสียภาษีเป็น 2 เท่า ของอัตราปกติ
การอุทธรณ์การฟ้องศาล
- ยื่นอุทธรณ์ผ่านเจ้าพนักงานประเมินภายใน 30 วัน
ยื่นแบบแสดงรายการที่ดินและการชำระภาษี
- ให้เจ้าของที่ดิน,ผู้ครอบครองที่ดิน ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ,ท.5) และชำระภาษีปีละครั้ง ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม ถึง 30 เมษายน ของทุกปี
- ผู้ที่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินใหม่หรือเนื้อที่ดินเปลี่ยนแปลงให้ยื่นแบบนับแต่วันที่โอนกรรมสิทธิ์
อัตราโทษและค่าปรับ
- ไม่ยื่นแบบภายในกำหนดเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษีที่ประเมิน
- ยื่นรายการไม่ถูกต้องเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษีที่ประเมินเพิ่ม
- ชี้เขตแจ้งจำนวนเนื้อที่ดินไม่ถูกต้อง ต้องเสียเงินเพิ่มอีก 1 เท่า ของค่าภาษีที่ประเมินเพิ่ม
- ชำระภาษีเกินกำหนดวันที่ 30 เมษายน ต้องเสียเงินเพิ่ม 24% ต่อปี ของค่าภาษี
ภาษีป้าย
ภาษีป้าย คือ ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายการค้าหรือโฆษณาหรือกิจการอื่น เพื่อหารายได้ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลักจารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น โดยมีห้วงเวลาการจัดเก็บประจำทุกวันที่ ภาษีป้าย 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของทุกปี
อัตราภาษี
- ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.
- ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ หรือปนกับรูปภาพ หรือเครื่องหมายอื่นคิดอัตรา 20 บาทต่อ 500 ตร.ซม.
- ป้ายดังต่อไปนี้คิดอัตรา 40 บาทต่อ 500 ตร.ซม.
- ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
- ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
- ป้ายที่คำนวณพื้นที่และประเภทของป้ายแล้ว เสียภาษีต่ำกว่า 200 บาท ให้เสียในอัตรา 200 บาท
การยื่นแบบประเมินและการชำระภาษี
- ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ตั้งแต่ 2 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของทุกปี โดยเสียเป็นรายปี ยกเว้นป้ายที่ติดตั้งใหม่ให้ยื่นแบบแสดงรายการภายใน 15 วัน
- ชำระภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินจากพนักงานเจ้าหน้าที่
- ถ้าภาษีป้ายเกิน 3,000 บาท สามารถผ่อนชำระได้ 3 งวดๆละเท่ากัน
อัตราโทษและค่าปรับ
- ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายใน เดือนมีนาคมหรือหลังติดตั้งป้าย 15 วันเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษี
- ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายไม่ถูกต้องทำให้ค่าภาษีน้อยลง ต้องเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษีที่ประเมินเพิ่มเติม
- ไม่ชำระเงินภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับการแจ้งการประเมินเสียเงินเพิ่ม 2% ต่อเดือน ของค่าภาษีเศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน
ใบอนุญาตกิจการประเภทต่างที่ต้องมีการควบคุม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 71 แห่ง พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และมาตรา 32, 54 และ 63 แห่ง พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 ออกข้อบังคับไว้ให้กิจการประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุม
- กิจการที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงไก่,หมู ฯลฯ
- กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม
- กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร
- กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล
- กิจการที่เกี่ยวกับการบริการเช่น ตู้เกมส์ ร้านเสริมสวย หอพัก ฯลฯ
- กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอเช่นการเย็บผ้าด้วยเครื่องจักร ซักอบรีด ฯลฯ
- กิจการที่เกี่ยวกับ หิน ดิน ทราย ซีเมนต์
- กิจการที่เกี่ยวกับยา
- กิจการที่เกี่ยวกับไม้
- กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ถ่านหิน สารเคมี แก๊ส น้ำมัน เป็นต้น
เอกสารที่ต้องใช้ในการขออนุญาต
- บัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- ใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยอาคาร
- เอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เจ้าหน้าที่เห็นว่าสมควร เรียกเพิ่มเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาต
อัตราโทษและค่าปรับ
- ผู้ประกอบการค้ารายใด ไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนข้อบังคับนี้ ต้องระวางโทษตามบทกำหนดโทษแห่ง พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535
- ไม่ชำระค่าธรรมเนียมตามกำหนดเวลาเสียค่าปรับเพิ่ม 20% ของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่จะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการก่อนกำหนด การเสียค่าธรรมเนียมตามข้อบังคับนี้
ติดต่อชำระภาษี
งานจัดเก็บรายได้ กองคลัง องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขะยุง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 34310. โทร. 045-431458 แฟกซ์ 045-431458 อีเมลล์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
"ท้องถิ่นดี ภาษีช่วย ท้องถิ่นสวย ภาษีสร้าง"
วิสัยทัศน์-พันธกิจ
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขะยุง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี มีนายกเองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขะยุง เป็นผู้บริหารสูงสุด มีภารกิจอำนาจหน้าที่ภายใต้ระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับและมติ ครม. ที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนด วิสัยทัศน์การพัฒนา (vision) การพัฒนา ภาพการณ์ที่ปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคตของ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขะยุง ดังนี้
วิสัยทัศน์ (Vision)
วิสัยทัศน์การพัฒนา (vision) หมายถึง สภาพการณ์ที่เราปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคต
“ห้วยขะยุงมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจการค้า ชุมชนเข้มแข็ง สังคมภูมิปัญญา งามล้ำประเพณีท้องถิ่น”
พันธกิจ (Mission)
พันธกิจ (Mission) หมายถึง ขอบเขตของบทบาทหน้าที่หลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จำเป็นต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ (คือเราต้องทำอะไรถึงจะบรรลุตามวิสัยทัศน์ที่เรากำหนดไว้)
- การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
- การพัฒนาด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต
- การพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย
- การพัฒนาด้านการวางแผน ส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว
- การพัฒนาด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- การพัฒนาด้านศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
- การพัฒนาด้านการเมือง การบริหารและการบริการประชาชน
เป้าหมาย (Goal)
เป้าหมาย (Goal) หมายถึง การระบุสภาพที่ต้องการให้สำเร็จ (การดำเนินการ เพื่อให้เกิดอะไร ถึงจะบรรลุตามวิสัยทัศน์หรือภาพความสำเร็จของวิสัยทัศน์)
- การคมนาคมสะดวก ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ เพียงพอและทั่วถึง
- ประชาชนประกอบอาชีพและดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
- การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น
- การศึกษา ศาสนา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
- การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ ตามแนวทางธรรมาภิบาล
- การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
- การจัดทำระบบแผนที่ภาษี การพัฒนางานจัดเก็บรายได้
- การวางระบบผังเมือง เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ
กองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
ศาสนาและวัฒนธรรม

นายจิรัฏฐ์ โชควิวัฒนวนิช
ผู้อำนวยการกองการศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม

นางสาวภัทรภร ธรรมวิเศษ
นักสันทนาการปฏิบัติการ

นางสาวเมริณณ์ณา วงศ์แสนประเสริฐ
นักวิชาการการศึกษาปฏิบัติการ

นางสว่างจิต สีดา
ครู คศ.1

นางอนันต์ พรมมากอง
ครู คศ.1
กองช่าง

นายธานินทร์ วาดสีดา
ผู้อำนวยการกองช่าง

นายธีระพงษ์ บุญสอด
นายช่างโยธาชำนาญงาน

นางณรรฐมน ศรีพันธ์
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

นายประเสริฐ ปานวรรณะ
พนักงานสูบน้ำ (ลูกจ้างประจำ)
กองคลัง

นางสาวถนอมศรี เทพดู่
ผู้อำนวยการกองคลัง

นางสาวนิรดา มาทฤทธิ์
นักวิชาการพัสดุชำนาญการ

นางปราณิสา อุ่นพงษ์
เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ชำนาญงาน

นางจินตนา รัตประจง
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
สำนักปลัด

นางสาวกัญณภัทร จูมพระบุตร
หัวหน้าสำนักปลัด

นางกนกธร สายสุวรรณ
นักพัฒนาชุมชนชำนาญการ

นางมุจลินท์ จันทร์ทรง
นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ

นางสาวพิรุฬห์ภัค โลหะสาร
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ

นายวีรวัตร เถาว์ทุมมา
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

จ่าเอกลัทธิ บัวทุม
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

นางอปสร พิมพิศาล
เจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์ชำนาญงาน

สิบเอกปกรณ์ จันทร์ทรง
เจ้าพนักงานป้องกัน
และบรรเทาสาธารณภัยชำนาญงาน
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

นายบุญเลี้ยง ศรีสงค์
ประธานสภา

นายสุบิน หาวัน
รองประธานสภา

นายเกรียงศักดิ์ แก่นลา
เลขานุการสภา

นายบุญเลี้ยง ศรีสงค์
ส.อบต. หมู่ที่ 1

นายสมพร แสวงวงษ์
ส.อบต. หมู่ที่ 2

นางหนูกาย สมโสภา
ส.อบต. หมู่ที่ 3

นายนุกุล ทาประจิต
ส.อบต. หมู่ที่ 4

นายปรีดิ์เปรม ทัดเทียม
ส.อบต. หมู่ที่ 5

นางสุทิน จุลเหลา
ส.อบต. หมู่ที่ 6

นายดอน เลาะบุญ
ส.อบต. หมู่ที่ 7

นายสุมิตร ศรีทอง
ส.อบต. หมู่ที่ 8

นางรุ่งนภา จำปาสา
ส.อบต. หมู่ที่ 9

นายวิชาญ บุรมย์
ส.อบต. หมู่ที่ 10

นายทองอินทร์
ส.อบต. หมู่ที่ 11

นายวิเชียร โสวรรณะ
ส.อบต. หมู่ที่ 12

นายสุบิน หาวัน
ส.อบต. หมู่ที่ 13
คณะผู้บริหาร

นายกำพล สายลาด
นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
มือถือ 081-8790227

นายธีระพล ลัทธะโล
รององค์การบริหารส่วนตำบล
มือถือ 085-7623594

นายสุรชัย บัวทุม
รององค์การบริหารส่วนตำบล
มือถือ 080-0564915

นายไสว จันทร์ศรี
เลขานุการนายก
องค์การบริหารส่วนตำบล
มือถือ 080-1564155

นายเกรียงศักดิ์ แก่นลา
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
มือถือ 094-6496144

นางสาวศศณัท ศุภกุลวิชัย
รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
มือถือ 082-8939299
หัวหน้าส่วนราชการ

นายเกรียงศักดิ์ แก่นลา
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
มือถือ 094-6496144

นางสาวศศณัท ศุภกุลวิชัย
รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
มือถือ 082-8939299

นางสาวกัญณภัทร จูมพระบุตร
หัวหน้าสำนักปลัด

นางสาวถนอมศรี เทพดู่
ผู้อำนวยการกองคลัง

นายธานินทร์ วาดสีดา
ผู้อำนวยการกองช่าง

นายจิรัฏฐ์ โชควิวัฒนวนิช
ผู้อำนวยการกองการศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม